TKP HEADLINE

การทำเครื่องแกงตำมือ

สินค้าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน ต.คลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีอาชีพทำสวนยางและปลูกพืชผักสวนครัว โดยมีการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านได้มีการระดมพริก ตะไคร้ ขมิ้น ขิง ข่า ในท้องถิ่นนำมาทำเป็นเครื่องแกง การผลิตเครื่องแกงตำมือเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำของสมาชิกได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์   อ่านเพิ่มเติม

แพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนโบราณ  การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ 

เป็นความรู้ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จากในอดีตที่ไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาให้การช่วยเหลือ ชาวบ้านที่เจ็บป่วยจึงต้องหันไปพึ่งพาหมอที่อยู่ตามชุมชนหมู่บ้านในละแวกใกล้เคียง ซึ่งหมอเหล่านี้ก็มีการนำเอาความรู้มาจากตำราบันทึกประสบการณ์ และการบอกเล่าจากหมอรุ่นเก่า กลายเป็นที่พึ่งพิงสำหรับชาวบ้านมาช้านาน   อ่านเพิ่มเติม

การทำข้าวเกรียบ

 ข้าวเกรียบ ข้าวเกรียบ หมายถึง อาหารว่างชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก อาจมีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ หรือผัก หรือผลไม้ เช่น ปลากุ้ง ฟักทอง เผือก งาดำ งาขาว บดผสมให้เข้ากับเครื่องปรุงรส แล้วทำให้เป็นรูปทรงตามต้องการ นึ่งให้สุก ตัดให้เป็นแผ่นบางๆ นำไปทำให้แห้งด้วยแสงแดดหรือวิธีอื่นที่เหมาะสมอาจทอดก่อนบรรจุหรือไม่ก็ได้  อ่านเพิ่มเติม

หัตถกรรมเครื่องเงิน


เครื่องเงินเป็นศิลปหัตถกรรมฝีมือเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่ง มีทั้งสายสร้อย สายสี่ เสา หรือหกเสา ที่ถักด้วยลวดเงินเส้นบางเฉียบ สร้อยสามกษัตริย์ทำด้วยทอง เงิน และนาก สร้อยประดับเม็ดนโม อันเป็นสัญลักษณ์ ของเมืองนครศรีธรรมราช หรือแม้กระทั่งเครื่องอาภรณ์ประกอบชุดละครไทย เช่น ทับทรวง ปิ่นปักผม เข็มขัด และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่มีความงาม ผลิตอย่างละเอียดและประณีต  อ่านเพิ่มเติม

การทำไข่เค็ม


ไข่เค็ม เป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำไข่เค็มเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคลน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บของไข่ที่เหลือจากการบริโภคสด และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ต่อมาไข่เค็มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น  อ่านเพิ่มเติม

การทำถ่านอัดแท่ง


ถ่าน คือ ไม้หรือฟืนที่ผ่านกระบวนการไล่ความชื้นในเนื้อไม้ออกไป ถ่านไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิง ให้ความร้อน หรือใช้งานในด้านอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของไม้ เนื่องจากความหนาแน่นและองค์ประกอบทางเคมีของไม้มีความแตกต่างกัน อาทิเช่น ไม้ที่มีความหนาแน่นมาก เมื่อเป็นถ่านจะให้พลังงานความร้อนที่สูงและอยู่ได้นานกว่าถ่านที่มีความหนาแน่นน้อย นอกจากนี้ถ่านยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย   อ่านเพิ่มเติม

ทษฎีใหม่โคก หนอง นา โมเดล

 เป็นผู้นำศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ด้านไร่นาสวนผสม มีการทำนา ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกพืชผักสมุนไพร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นเกษตรกร ตัวอย่างที่ทำการเกษตรแบบพอเพียงไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยึดหลักการทำเกษตรตามรอยพ่อของ แผ่นดิน เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลที่มาศึกษาเรียนรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง  อ่านเพิ่มเติม


จักรสานจากทางปาล์ม

 นายชัยยุทธ ศิลป์พยุทธ อยู่บ้านเลขที่ 5/1 หมู่ที่ 6 ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้ร่วมกับภรรยา จัดตั้ง กลุ่มแม่บ้านจักสาน หมู่ที่ 6 ตำบลอ่าวลึกน้อย วิทยากรจักรสานจากทางปาล์ม ด้านการจักสานตะกร้าและชะลอม เพิ่มเป็นรายได้ของกลุ่มแม่บ้าน และสืบสานการจักสานตามวิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้ได้เล็งเห็นคุณค่าจากเศษวัสดุในธรรมชาติมาใช้ทำประโยชน์ ทำเป็นชิ้นงาน ใช้บรรจุสิ่งของ แทนถุงพลาสติก ช่วยลดมลพิษ และภาวะโลกร้อน ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคม  อ่านเพิ่มเติม

การเปรรูปอาหารทะเล

 นางสาวเมตตา ละงู มีอาชีพขายอาหารทะเลและแปรรูปสินค้าให้มีมูลค่ามากขึ้น พร้อมทั้งมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ด้วยการหันมาทำการตลาดออนไลน์โชว์สินค้าและขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้ลูกค้าได้เห็น เมื่อลูกค้าสนใจมีการสั่งซื้อเข้ามา จะส่งสินค้าทางไปรษณีย์ให้กับลูกค้าที่อยู่ไกลยังจังหวัดอื่นๆ ส่งผลให้นอกจากจะจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปหน้าร้านแล้ว ยังเกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ได้อีกด้วย  อ่านเพิ่มเติม

การเกษตรแบบผสมผสาน

 

ชื่อ-สกุล ..นางไหรหนับ  อุมาสะ.....วันเดือนปีเกิด .....๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๔...........อายุ .....๕๐...... ปีที่อยู่ ...๓๗/๙......หมู่ที่ ๕ บ้านช่องไม้ดำ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก  จังหวัดกระบี่

เดินทางจาก กศน.อำเภออ่าวลึก ประมาณ ๑๔ กม.ถึง ๔ แยกไฟแดงบ้านนบ เลี้ยวซ้ายผ่านทางวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก  ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถึงสามแยก โรงเรียนบ้านช่องไม้ดำ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงบ้าน  อ่านเพิ่มเติม

ผู้นำต้นแบบ”โคก หนอง นา โมเดล”


ศูนย์เรียนรู้โคก หนอง นา โมเดล ตำบลคลองยา อยู่ห่างจากจังหวัดกระบี่ ประมาณ 64 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภออ่าวลึก ประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามถนนหมายเลข ๔๓๐๙ อ่าวลึก –ปลายพระยา และแยกเข้าถนนหมายเลข กบ.๔๐๑๔ บ้านเก้าห้อง – บ้านเขาแก้ว ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองยา ตรงไปอึกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงบ้านคลองทรายขาว (ซอย ๑๖) ทางด้านขวามือก็จะถึงศูนย์เรียนรู้โคก หนอง นา โมเดล ตำบลคลองยา  อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การทำอาหารและขนมไทย


นางสาวนลินนิภา ล่องจ้า เป็นเป็นสมาชิกคนหนึ่งในชุมชน มักจะอาสาทำงานต่างๆ ในชุมชน และก็จะได้รับความไว้วางใจให้ได้รับบทบาทหรือหน้าที่ที่สำคัญเสมอ เช่น งานวัด โรงเรียน กศน. อบต. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนชุมชนอื่นๆ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะในขณะที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน และ อสม.ในปัจจุบัน หลักการทำงานส่วนรวมโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด, ร่วมตัดสินใจ, ร่วมตรวจสอบ, ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเสียสละทรัพย์ส่วนตัวในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมอยู่เสมอ จนได้รับการยอมรับยกย่องเชิดชูจากชุมชน และหน่วยงานองค์กรต่างๆในชุมชน เช่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นวิทยากรสร้างอาชีพให้กับตำบล  อ่านเพิ่มเติม

แหล่งเรียนรู้และพัผ่อนทางธรรมชาติบ่อน้ำผุด

 เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีธารน้ำผุดขึ้นมาตามธรรมชาติตลอดทั้งปี อยู่ในป่าต้นน้ำ  และเป็นแหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านในตำบลคลองยา  และประชาชนใช้ในการอุปโภค โดยมีการวางแผนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน  เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ มีการพัฒนาและปลูกป่าเพิ่มเติมโดยผ่านกิจกรรมจิตอาสา  อ่านเพิ่มเติม

สินค้า OOCC

 บ้านสวนอบเอย ผักผลไม้สมุนไพรอบแห้ง ตำบลคลองยา อยู่ห่างจากจังหวัดกระบี่ ประมาณ 64 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภออ่าวลึก ประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามถนนหมายเลข ๔๓๐๙ อ่าวลึก –ปลายพระยา และแยกเข้าถนนหมายเลข กบ.๔๐๑๔ บ้านเก้าห้อง – บ้านเขาแก้ว ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองยา ตรงไปอึกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงบ้านคลองยา (ซอย ๑๖) ฝั่งหมู่ที่ ๓ ทางด้านซ้ายมือก็จะถึงบ้านสวนอบเอย ผักผลไม้สมุนไพรอบแห้ง ตำบลคลองยา  อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุวชิรมงคล

 โดยรอบของพระมหาธาตุเจดีย์มีทางเดินหรือเรียกว่าระเบียงราย เป็นทางเดินล้อมรอบองค์เจดีย์ทั้ง 4 ด้าน และมีพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนมากตั้งอยู่ตามแนวทางเดินให้กราบไหว้บูชา ซึ่งทางเดินนี้จะเป็นทางที่เชื่อมต่อไปยังองค์เจดีย์ได้เลย ระหว่างที่เราเดินอยู่นั้นก็สามารถชื่นชมความงดงามของฝีมือช่างไทยที่สร้างลวดลายไว้วิจิตรบรรจง รวมทั้งชมทัศนียภาพโดยรอบได้เช่นกัน  อ่านเพิ่มเติม

ห่อหมกปลาป้าเขียด

 ข้อมูล/รายละเอียดภูมิปัญญาท้องถิ่น นางมาลี ชุ่มใจ เป็นผู้นำสตรีในชุมชน เพราะเป็นแม่บ้านของท่าน กำนัน สุริยา ชุ่มใจ กำนันตำบลอ่าวลึกใต้และมีความรู้ความสามารถในการทำอาหารคาวหวานต่างๆเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยเฉพาะของหมกปลาเป็นที่ยอมรับของผู้คนในอำเภออ่าวลึก และในช่วงวันสารทเดือนสิบก็จะทำขนมตามประเพณีด้วย การทำอาหารได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นคนไม่หวงวิชาความรู้ ได้นำมาถ่ายทอดให้กับน้องๆ ของสามี ซึ่งการพัฒนาตนเองนั้นมีการพัฒนาอยู่เสมอและได้นำมาขายในตลาดนัดชุมชนทุกวันพุธ อาหารที่เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน เช่น ห่อหมกปลา ขนมจีน 3 น้ำยา ขนมเทียน ขนมสอดไส้  อ่านเพิ่มเติม

ตะกร้าสานไม้ไผ่ยายติ้ว

 หัตกรรมไทยเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นศิลปวัฒนธรรมไทยที่แตกต่างกันไปตามถิ่นกำเนิน รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ เอกลักษณ์สำคัญของหัตถกรรมไทยคือ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี แล้วถ่ายทอดออกมาในรูปของศิลปะ โดยสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนด้วย คุณค่าในด้านเนื้อหาสาระนั้นได้สะท้อนความนึกคิดและค่านิยมของคนในแต่ละยุคสมัยออกมาในรูป  อ่านเพิ่มเติม

วัดมหาธาตุแหลมสัก

วัดมหาธาตุแหลมสัก ตั้งอยู่ที่ 207 ม.3 ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ. กระบี่ มีเนื้อที่ 22 ไร่ มีพระจำพรรษาจำนวน 9 รูป เมื่อ 13 ปี ที่ผ่านมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสโดยหลวงปู่เนตร จิรปัญโญ เนื่องจากในขณะนั้นท่านมีอายุมากถึง 82 ปี หรือ 95 ปี ในปัจจุบัน และเมื่อรับตำแหน่งได้ประมาณ 1 ปีสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกประทานพระบรมสารีริกธาตุมาให้วัด  อ่านเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี

 น้ำตกธารโบกขรณี  ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ สภาพทั่วไปเป็นธารน้ำธรรมชาติไหลลงมายังแอ่งน้ำน้อยใหญ่ซึ่งอยู่ต่างระดับกัน รายรอบด้วยป่าไม้ร่มรื่น ด้านเหนือของธารโบกขรณี มีมณฑปพระพุทธบาทจำลองที่แกะสลักจากไม้ ประดิษฐานอยู่ใกล้กับศาลาบูชาเจ้าพ่อโต๊ะยวน-โต๊ะช่อง  อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหมู่ที่ ๕ บ้านบางโสก

 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ให้เห็นถึงแนวทาง การดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  อ่านเพิ่มเติม

วัดสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกระบี่ หลวงพ่อผาด อติพโล เทศนาธรรมเพื่อรักษาธรรมชาติ

 หลวงพ่อผาด อติพโล ใช้การเทศนานำหลักธรรมคำสอนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนแนวคิดและสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนในการดูแลรักษาป่า เปลี่ยนป่าช้าเสื่อมโทรมให้กลายเป็นสวนป่าร่มรื่น จัดศาสนสถานให้เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องพันธุ์ไม้เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาธรรมชาติ ขยายแนวคิดและพื้นที่สีเขียวไปยังวัด ชุมชน และโรงเรียนใกล้เคียง หลวงพ่อผาด อติพโล เป็นคนบ้านนา จ.กระบี่ ชื่อเดิม นายผาด ทองผึ้ง ตอนเด็ก ย้ายตามแม่ไปอยู่ที่พังงา จนเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนท่าช้าง อ.เมือง จ.พังงา เมื่ออายุครบ 17 ปี ก็บวชเป็นสามเณรที่วัดราษฎร์อุปถัมภ์ แล้วบวชพระเมื่ออายุ 21 ปี ที่วัดมงคลนิมิตร จ.ภูเก็ต ขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนเขารังเป็นเวลา 6 ปี จนเรียนจบนักธรรมชั้นเอก อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกบางเท่าแม่ สายน้ำที่หล่อเลี้ยงบ้านบางเท่าแม่

 บางเท่าแม่ เป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งในพื้นที่ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ซึ่งจากการฟังชื่อของหมู่บ้านแล้วนั้น อาจจะสร้างความแปลกใจให้แก่ผู้ที่ได้ฟัง เนื่องจากเป็นลักษณะชื่อที่แปลก และไม่มีความหมายที่แน่ชัด หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ เป็นตำบลที่เชื่อมต่อกับอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา และอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้าน มีภูเขากั้นกลางระหว่างชายแดนของจังหวัดทั้งสอง ทำให้เกิดเป็นทางน้ำไหลผ่านลงมาจากภูเขา กลายเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สร้างความสวยงามให้กับชุมชน และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในตำบลเขาต่ออย่างมหัศจรรย์ใจ นั้นก็คือ “น้ำตกบางเท่าแม่” นั้นเอง  อ่านเพิ่มเติม

หมอดินอาสา บ้านบางหอย

“หมอดิน" คือ ผู้ดูแลรักษา สุขภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หลาย ๆ คน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า หมอดิน แต่สำหรับเกษตรกรไทยนั้นกลับคุ้นชินและรู้จักหมอดินเป็นอย่างดี โดยหมอดินนั้นจะมีหน้าที่รักษาดินที่เสื่อมโทรม ให้กลับมาทำการเพาะปลูกพืชได้อีกครั้ง และคอยปรังปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อให้ดินสามารถผลิตธาตุอาหารกลับไปเลี้ยงต้นไม้ให้มีการเจริญเติบโตที่ดี   อ่านเพิ่มเติม

อ้อย พืชสารพัดประโยชน์

 กล่าวถึงเรื่องอ้อย เรารู้จักกันมานาน มีปลูกกันอยู่ทั่วไปในประเทศไทย อ้อยเป็นพืชตระกูลหญ้า อ้อยแต่ละสายพันธุ์ ล้วนแต่มีลักษณะเดียวกัน อ้อยโรงงานเกษตรกรปลูกกันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำเงินให้ชาวไร่มากมาย ส่งเข้าโรงงานผลิตน้ำตาลทราย ก็น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง ที่คนเรานำมาประกอบอาหาร ทำขนม เครื่องดื่ม อ้อยเคี้ยวก็เป็นอ้อยอีกชนิด ที่ชาวบ้านปลูกกัน มีทั้งต้นสีเขียว สีแดงดำ  อ่านเพิ่มเติม

ลอยกระทงในถ้ำวารีริน หนึ่งเดียวในโลก บ้านบางเหลียว คีรีวง ปลายพระยา จังหวัดกระบี่

อบต.คีรีวง อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ จัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทงเที่ยงวัน ในถ้ำวารีริน แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในพื้นที่ สืบสานประเพณีไทยอันดีงาม มีที่เดียวในประเทศไทย เทศลอยกระทงถ้ำวารีริน สืบสานประเพณี วิถีชุมชน โดยอำเภอปลายพระยา  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคีรีวงและชุมชนบ้านบางเหลียว  ร่วมกันจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 มีประชาชน และนักท่องเที่ยว เดินทางมาร่วมจำนวนมาก   อ่านเพิ่มเติม

โครงการปลูกข้าวเพื่อบริโภคครบวงจรในนิคมสหกรณ์อ่าวลึกอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดกระบี่

 ในพื้นที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก จ.กระบี่ ส่วนใหญ่สมาชิกใช้พื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน ดังนั้นพื้นที่ทำนาจึงลดลงทำให้ผลผลิตข้าวในเขตนิคมสหกรณ์อ่าวลึกไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ จึงต้องซื้อข้าวที่ผลิตได้จากท้องถิ่นอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสไว้ในวโรกาสที่ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะผู้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อ่านเพิ่มเติม

บทความปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอปลายพระยา


ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี  อ่านเพิ่มเติม

ครูหนังตะลุงแห่งเมืองกระบี่ หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล

หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล ศิลปินหนังตะลุงผู้เติบโตมาจากครอบครัวศิลปิน บ้านนา ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลงานการแสดงหนังตะลุงเป็นที่ประทับใจของบรรดา"คอหนังตะลุง" มากที่สุดคณะหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ.2509 - 2520 มีชื่อเสียงโด่งดัง มากที่สุด มี"ขันหมาก" ติดต่อกันถึงเดือนละ 20 - 30 คืน หนังเคล้าน้อย เป็น "หัวโจด" ศิลปินหนังตะลุง แห่งลุ่มน้ำปากพนัง เชื้อสายหนังสีชุม "ศิลปินหนังตะลุงเรื่องรามเกียรติ์" เมื่อ หลายทศวรรษที่ผ่านมา  อ่านเพิ่มเติม

มโนราห์ หนูแขม ประดิษฐ์ศิลป์

 เอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งนั้นคือ โนราห์ หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ที่มีการร้องและรำชั้นสูง มีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นบทกลอนสดที่มีความหมายโดยผู้ขับร้องจะใช้ปฏิภาณไหวพริบ และความสามารถพิเศษเฉพาะตัว มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ และมีเครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวา และกรับ ส่วนประวัติความเป็นมาของมโนราห์ นักโบราณคดีไทยคาดการณ์กันว่าการร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะการแสดงประเทศอินเดียโบรารณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย และเชื่อกันว่า มโนราห์ เกิดขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะแผ่ขยายไปยังหัวเมืองต่างๆของภาคใต้   อ่านเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชน เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วกรอบ มะแท็ง

 เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังมากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างสูง ปัจจุบัน มีผู้ผลิตหลายราย หากจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องมีจุดเด่น อย่างราย “บ้านไร่ใหญ่” ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ รักษาเอกลักษณ์คงกรรมวิธีการแปรรูปแบบโบราณ เพิ่มความอร่อย ทั้งกรอบ และมัน ที่สำคัญ มีกลิ่นหอมอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง  อ่านเพิ่มเติม

เมืองกาไส ปกาสัยในปัจจุบัน

ตามประวัติกล่าวว่าเมืองกระบี่แต่เดิมเรียกว่า “เมืองกาไส” หรือ “ปกาไส” เป็นแขวงเมืองขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช แขวงเมืองกาไสเกิดเป็นชุมชนขึ้นโดยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช โดยพระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างเพื่อส่งไปนครศรีธรรมราช กระบี่สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบอุดมด้วยสัตว์ป่านาๆพันธ์ การตั้งเพนียดจับช้างนี้ประมาณการว่าคงเป็นปลายรัชกาลที่ 2 แห่ง กรุงรัตนโกสินธุ์ตรงกับสมัยเจ้าพระยานคร(น้อย) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากในการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อส่งช้างไปขายถึงต่างประเทศ โดยใช้ท่าเรือที่ปรากฏร่องรอยคือสะพานช้างปากคลองปกาไส เส้นทางนี้รู้จักในนาม “เส้นทางเจ้าพระยานครค้าช้าง”  อ่านเพิ่มเติม

ศาลเจ้าเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง

 พระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง เดิมชื่อ ผูชวี (ตัน ผ่อ เจ่ว) เป็นคนตระกูล ( 陈 ) แซ่เฉิน( แซ่ตัน ) ท่านถือกำเนิดที่เชิงเขากู่ซาน หมู่บ้านเสี่ยวก้อ ตำบลหยงชุน คืออำเภอหยงชุน จังหวัดเฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน เมื่อวันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน แต่ปี พ.ศ. กำเนิดต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกัน คือ พ.ศ. ๑๕๕๔ - พ.ศ.๑๕๘๗ และ พ.ศ. ๑๕๙๐ แต่ในที่นี้ใช้ พ.ศ. ๑๕๘๗ เป็นหลัก  อ่านเพิ่มเติม

นายหัวเดือน

 การทำเกษตรในแบบเชิงอนุรักษ์ ให้เป็นธุรกิจโดยเริ่มจากการนำสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ให้มีคุณค่าสิ่งนั้นก็คือ“ไส้เดือนดิน”จึงศึกษาหาความรู้มาจากฟาร์มของอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการเลี้ยงไส้เดือนมานับ 10 ปี พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับ Number 1 Farm เพื่อให้กระบวนการเลี้ยงการผลิตถูกต้องตมหลักวิชาการและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จากไส้เดือนดิน พร้อมทั้งได้ถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินจนมีความมั่นใจ ที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ)

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ)  สถานที่ตั้ง   เลขที่     ๒๙  หมู่ที่  ๓ บ้านคลองยวน  ตำบลตลิ่งชัน  อำเภอเหนือคลอง  จังหวัดกระบี่  รหัสไปรษณีย์  ๘๑๑๓๐ คุณสุธี  ตาวัน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ : ๐๘๙ ๙๗๒๓๒๖๘ รับผิดชอบซึ่งเป็นหมอดินอาสา ตำบลตลิ่งชัน  “หมอดิน  คือ ผู้รอบรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน การจัดการดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดิน เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากดินและที่ดินในการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด   อ่านเพิ่มเติม

ท่องเทียวชุมชน"ลานลงเล"

 พื้นที่ “บ้านปากหรา” เป็นพื้นที่ติดกับฝั่งทะเลอันดามัน มีป่าโกงกางและบริเวณหน้าชายหาดที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์น้ำทั้งน้อยใหญ่ ยังผลให้พื้นที่แห่งนี้เปรียบเสมือนหม้อข้าวหม้อแกงของชาวบ้านที่นี่รวมถึงผู้ที่หลงไหลใน เกลียวคลื่น สายลม แสงแดด บรรยากาศต่างๆที่แทบไม่เปลี่ยนไปจาก 20-30 ปีก่อน บรรดาผู้คนทั้งหลายต่างแวะเวียนกันมาไม่ขาดสายทั้ง ลอยอวน ตักกุ้ง หาหอย เพื่อนำไปประกอบอาหารเลี้ยงชีพ ซึ่งกุ้งหอย ปู ปลาที่นี่ได้ชื่อว่ารสชาติดีมาก เนื่องจากมีทั้งส่วนที่เป็นน้ำกร่อยและนำเค็มตามปกติ ใครที่มาแบบไปเช้าเย็นกลับก็มีมากมาย บ้างก็ต้องการดื่มด่ำกับบรรยายกาศยามค่ำคืนที่สงบเงียบปราศจากรถราทั้งหลายมากวนใจ กางเต้นท์แค้มปิ้ง รับประทานอาหารสด ๆ แบบแบกะดิน ได้ยินเสียงคลื่นซัดสาด ทำให้ลืมความเคร่งเครียดจากการทำงานมาตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับแนวป่าสนโอโซนที่ช่วยปลดปล่อยอ๊อกซิเจนออกมาฟอกอากาศในยุคที่โรคระบาดเต็มบ้านเต็มเมือง  อ่านเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชนการต่อเรือหัวโทงบ้านหาดยาว

 

เรือหัวโทงคือ ต้นกำเนิดของเรือตามวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดกระบี่ สืบทอดวิถีชีวิตต่อมาหลายชั่วคน ผู้ต่อเรือใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผู้ต่อเรือมีชื่อเสียงได้ถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลานมาจนถึงปัจจุบันมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่าการต่อเรือมี หมู่ที่ ๔ บ้านหาดยาว หมู่ที่ ๑ บ้านคลองรั้ว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (อำเภอเหนือคลอง) ในปัจจุบัน และต่อมามีผู้สนในจังหวัดใกล้เคียง หรือจังหวัดในภาคใต้ตอนบนคือจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง และตรัง ได้มาว่าจ้างช่างในจังหวัดกระบี่ต่อเรือหัวโทงให้จึงทำให้เรือหัวโทงแพร่หลาย ด้วยเหตุนี้เรือหัวโทงจึงเป็นของจังหวัดกระบี่ที่แท้จริง  อ่านเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชนการเลี้ยงแพะ

 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเลี้ยงแพะบ้านหาดยาว เป็นการรวมตัวของสมาชุกที่มีความสนใจจำนวน 15 คน แพะเป็นปศุสัตว์ที่สำคัญในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม แพะเป็นปศุสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เป็นหนุ่ม-สาวเร็วจึงขยายพันธุ์ได้เร็ว แพะใช้พื้นที่เลี้ยงเพียงเล็กน้อยจึงมีต้นทุนการเลี้ยงไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงโค แพะช่วยกำจัดวัชพืชในสวน และให้มูลซึ่งถือว่าเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ที่มีคุณภาพดีแก่เกษตรกร นอกจากนี้แพะยังให้ผลผลิตเนื้อและน้ำนมซึ่งเป็นอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพสูงสำหรับผู้บริโภคโดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านศาสนา เพราะศาสนาอิสลามมีพิธีกรรมทางศาสนามากมายในการทำบุญด้วยการนำแพะมาทำ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของชุมชน  อ่านเพิ่มเติม

เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณ

 การผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วอบกรอบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณ บ้านคลองรั้ว เริ่มประกอบกิจการ เมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาในพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ณ ปัจจุบัน ม.1 บ้านคลองรั้ว ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่เป็นพื้นที่มีลักษณะดินปนทรายเหมาะแก่การปลูกเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อไว้ในการบริโภคและเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ชาวบ้านจะนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์มาคั่วเป็นอาหารว่าง ประกอบอาหารในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันทางผลิตภัณฑ์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณ บ้านคลองรั้ว ได้ผลิตสูตรเม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วแบบโบราณและแบบสูตรอบเกลือมาตลอด  อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมียจุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 08.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน)  อ่านเพิ่มเติม

รวม ๙ เรื่องพระราชอารมณ์ขันของในหลวงรัชกาลที่ ๙

อีกครั้งหนึ่งที่ภาคอีสานเมื่อเสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้หนึ่งที่คณะผู้ตามเสด็จทั้งหลายออกแปลกใจในการกราบบังคมทูลที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่างน่าฉงนเมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้จึงมีคำกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่า บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวน
พระพุทธเจ้าข้า..”   อ่านเพิ่มเติม

"หาดทุ่งทะเล" ที่พักผ่อนชุมชนและที่ทำกินชุมชน

ป่าทุ่งทะเล เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะกลาง ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2511

ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 22,181 ไร่ เดิมเป็นทุ่งหญ้ากว้างสลับกับแนวป่า ราษฎรได้ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว

ควาย ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช กรมป่าไม้ในขณะนั้น ให้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้

เนื้อที่ประมาณ 4,200 ไร่ โดยไม่ต้องขออนุญาต  อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาท่องถิ้น "การทำขนมลาเคาะ"

บ้านเก่า ลันตาน้อย

 เจ้าของที่ดั้งเดิมเป็นชาวจีนชื่อนายอันกับนางเซี๊ยะ มาจากสลังงอ ประเทศมาเลเซีย มีลูกสาวชื่อ นางกิมจู ต่อมา นายอันกลับเมืองจีน ก่อนไปพาลูกสาวไปฝากไว้กับญาติที่สตูล หลังจากนั้น นายอันฝากญาติมารับกลับเมืองจีน แต่นางกิมจูไม่ไป แต่งงานกับนายโบยง(ฮ่อย่อง) ทุ่งใหญ่ ไปอยู่ที่ลันตาน้อย (แต้เหล็ง) มีญาติพี่น้องชาวจีนตามไปอยู่ด้วย นางกิมจูมีลูกสาวสามคน มีลูกชายคนเดียว เมื่อนายโบยองเสียชีวิต ขณะนั้นโจรผู้ร้ายมาก นางกิมจูส่งลูกสาวคนหนึ่งไปอยู่ปีนัง ญาติพี่น้องแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น ส่วนลูกที่เหลือพามาอยู่ เกาะลันตาใหญ่ นางกิมจูแต่งงานกับสามีคนที่สองซื่อต้าว มีลูกสาวคนหนึ่ง แต่งงานกับชาวจีนซึ่งมาค้าขายที่เกาะลันตา ต้นตระกูลโกวิทวัฒนา ลูกสาวที่ไปอยู่ปีนังกลับมาแต่งงานกับชาวจีน ชื่อนายเทียนไล้ แซ่โกย (กิจค้า) ไปสร้างบ้านอยู่ที่เกาะลันตาน้อย (แต้เหล็ง) มีลูกสาว ๖ คน ลูกชาย ๑ คน เป็นลูกบุญธรรมเป็นผู้ชาย อีก ๑ คน ลูกสาวคนโตและคนที่ ๓ แต่งงานกับชาวจีนปีนัง ที่แล่นเรือใบ ๓ เสา มาค้าขายที่เกาะลันตา คนที่ ๒ แต่งกับ ตระกูลอุกฤษณ์ คนที่ ๔ แต่งกับคนสิเกา คนที่ ๕ แต่งกับข้าราชการป่าไม้ ตระกูลเสรีรักษ์ ที่เคยมารับราชการบนเกาะลันตา คนที่ ๖ แต่งกับตระกูลไหวพริบ ลูกชายคนเล็กแต่งกับชาวกันตัง นายเทียนไล้ และนางกิมสี้ ทำธุรกิจเผาถ่านไม้โกงกางส่งออกไปขาย ปีนังและสิงคโปร์ติดต่อค้าขายกับปีนัง  อ่านเพิ่มเติม

สะพาน “สิริลันตา”

 กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตาน้อย-เกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ งบประมาณ 415 ล้านบาท ในแนวท่าเทียบแพขนานยนต์ระหว่างบ้านศาลาด่านฝั่งเกาะลันตาใหญ่และบ้านหลักสอดฝั่งเกาะลันตาน้อย พร้อมปรับภูมิทัศน์บริเวณใต้สะพานเป็นจุดชมวิว  อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ลูกประคบสมุนไพร

 ลูกประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่นำสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำลูกประคบ เพื่อใช้ในการรักษาหรือช่วยให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งส่วนประกอบในการทำลูกประคบสมุนไพรได้แก่  เช่น ผิวมะกรูด  ขมิ้นชัน  ไพร  ใบมะขาม  ใบส้มป่อย เป็นต้น  อ่านเพิ่มเติม


ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง “การประมงพื้นบ้าน 2”

 

การประมงพื้นบ้าน เป็นการทำอาชีพการประมงที่ใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านจากการสืบทอดวิธีการการประดิษฐ์เครื่องมือประมงมาจากบรรพบุรุษ เพื่อใช้ทำมาหากิน ซึ่งได้แก่ ไซปลา ไซกุ้ง ไซหมีก และอวนปู โดยไม้หวาย อวน ลวด เป็นวัสดุในการสร้างเครื่องมือประมง โดยจะเน้นการทำไซหมึกหอมที่มีลักษณะต่างจากที่อื่นคือการทำไซหมึกหอมแบบโค้งเน้นเน้นทำจากหวายเพื่อดัดรูปแบบโค้ง และหมึกจะเข้าดรกว่า ซึ่งที่อื่นมักทำแบบเหลี่ยม เพราะไม่ต้องขึ้นเขา เข้าป่าไปหาหวาย และทำง่ายกว่า 
อ่านเพิ่มเติม


ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านทุ่งหยีเพ็ง

ชุมชนทุ่งหยีเพ็งเป็นชุมชนเล็ก ๆ ซ่อนตัวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว แรกเริ่มเดิมทีมีชื่อว่าชุมชน “โต๊ะหยีเพ็ง” ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกตั้งรกรากในพื้นที่นี้ ก่อนจะเพี้ยนเสียงมาเป็นทุ่งหยีเพ็งอย่างในปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและทำการเกษตรชุมชนมุสลิมร้อยปีบนเกาะได้ร่วมกันจัดตั้งชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านทุ่งหยีเพ็สร้างความเข้าใจและแรงบันดาลใจให้กับผู้มาเยือนถึงถิ่นฐานลันตาเอาชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงกับแหล่งทรัพยากรจากป่าชายเลนโบราณสองฝั่งคลองไปจนถึงเวิ้งทะเลเปิดมาเป็นศูนย์กลางชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทุ่งหยีเพ็งดูแลโดยนายนราธร หงส์ทอง ซึ่งการเกิดเป็นชุมชนชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทุ่งหยีเพ็งมาจาก 3 ส่วนหลักๆ  อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง “พิธีกรรมลอยเรือ ของชาวเลอุรักราโว้ย”

พิธีกรรมลอยเรือของชาวเลอุรักราโว้ยเป็นพิธีกรรมความบันเทิงที่ช่วยสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านและมีความสำคัญยิ่ง ในพิธีกรรมลอยเรือคือการเต้นรำ ขับร้องเพลงรำมะนา โดยเฉพาะในช่วงสำคัญๆของพิธีก็จะเน้นการขับขานบทเพลงที่มีเนื้อหาที่เป็นการขอขมาต่อความผิดบาปของเผ่าพันธุ์หรือการกล่าวถึงการส่งเรือกลับไปฆุนุงฌืรัย ดินแดนที่เชื่อกันว่าคือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษ และมีการทำไม้พาดั๊ก และมีการนำน้ำมาทำพิธี และน้ำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีมาอาบและดื่ม เพื่อความเป็นศิริมงคล ปัดเป่าสิ่งไม่ดี ทำมาหากินคล่อง ไม่เจ็บป่วย ซึ่งพิธีกรรมนี้จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือขึ้น 14 – 15 ค่ำ ของเดือน 6 และ เดือน 11  อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง “การประมงพื้นบ้าน”


 

ข้อมูลการเดินทางไปยังภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสังเขป (เริ่มต้นจากที่ว่าการอำเภอ)

ออกจากอำเภอเกาะลันตา เลี้ยวขวามุ่งหน้าไปสะพานสิริลันตา ลงสะพานสิริลันตาเจอสามแยกเลี้ยวขวาไปทางศาลาด่าน เจอแยกโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่านเลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวาเข้าซอยข้างโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน ตรงไปทางหาดคอกวางเข้าสู่บ้านในไร่

ข้อมูล/รายละเอียดภูมิปัญญาท้องถิ่น

การประมงพื้นบ้าน เป็นการทำอาชีพการประมงที่ใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านจากการสืบทอดวิธีการการประดิษฐ์เครื่องมือประมงมาจากบรรพบุรุษ เพื่อใช้ทำมาหากิน ซึ่งได้แก่  ไซปลา  ไซกุ้ง  ไซหมีก และอวนปู  โดยไม้หวาย  อวน ลวด เป็นวัสดุในการสร้างเครื่องมือประมง  อ่านเพิ่มเติม

โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ ๔,๒๐๐ ไร่ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๗ ตามที่จังหวัดกระบี่ น้อมเกล้าฯ ถวาย เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของป่าทุ่งทะเลให้ยั่งยืน (ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล ๐๐๐๙/พิเศษ ๑๓๑ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๗)  อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดกระบี่. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand